การฝึกฝน จินตนาการเด็ก |
เพราะ จินตนาการ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับจินตภาพ คือการสร้างภาพในสมอง หรือนึกคิดเป็นภาพ จึงเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์อย่างเลี่ยงไม่ได้ ถือเป็นทักษะเบื้องต้นของความคิดสร้างสรรค์ก็น่าจะได้
ส่วนมากการฝึกหัดการพัฒนาการจินตนาการ เน้นความคิดสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำ เป็นการคิดที่ผิดแผกไป เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทิศทางมากกว่ากรรมวิธีคิด หนังสือแบบฝึกหัดจึงเป็นลักษณะถ้อยคำเป็นส่วนมาก หารูปภาพประกอบปรากฏน้อยมาก จนบางทีกลายเป็นการฝึกการแก้ปริศนาและเล่นเกมอิจฉริยะ ทั้งหมดเป็นเรื่องถ้อยคำโวหารทั้งสิ้น ส่วนมากเป็นการให้แสดงการเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยของสิ่งหนึ่งไปกับสิ่งอื่น เช่น ความโง่ดุจดัง….. ความอ่อนนุ่มเหมือน………ความรวดเร็วปาน……..เป็นต้น หรือไม่ก็ขยายคุณสมบัติของสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์เฉพาะไปสู่ประโยชน์อื่นที่เป็นไปได้ เช่น กำหนดประโยชน์อื่นของหมวก ของเครื่องเหลาดินสอ หรือของอิฐก่อสร้าง เป็นต้น งานค้นคว้าวิจัยจึงสะท้อนเรื่องของสัญญาหมายรู้ (cognition) มากกว่าการรับรู้ (perception) มีส่วนน้อยที่มุ่งเน้นโดยตรงเรื่องการฝึกฝนจินตภาพในความคิด
ข้อมูลการรับรู้รับทราบเชิงประจักษ์เกิดขึ้นจากสิ่งชี้นำ (visual cues) หรือลางสังหรณ์ เหมือนสิ่งเตือนจำในถ้อยคำโวหาร สิ่งเตือนจำหรือบ่งชี้ นำไปสู่ภาพรวมทั้งหมด มักเกิดจากการลดส่วน หรือเป็นส่วนปลีกย่อยที่มีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง อันอ้างถึงภาพรวมได้ภายหลัง นักจิตวิทยา Francis Galton อธิบายคุณค่าของสิ่งชี้นำนี้ เปรียบเหมือนสิ่งของภายในบ้านที่คุ้นเคย สามารถนึกภาพหรือรับรู้ได้จากการมองเห็นบ้านจากภายนอกได้ดีกว่าไม่ได้มองเห็นบ้านนั้นเลย นักเล่นหมากรุกเห็นประโยชน์จากการมองกระดานเปล่า เมื่อเขาเล่นเกมนั้นในใจ มันช่วยให้ง่ายในการนึกภาพว่าจะเดินหมากอย่างไร ดีกว่าไม่เห็นกระดานนั้นเสียเลย นักกอล์ฟก็เช่นกันเขามักวาดภาพในใจของผลการตีครั้งต่อไปไว้ล่วงหน้าเสมอก่อนการตีในทุกๆครั้ง บ่อยครั้งที่นักเรียนนำตำราหรือโน๊ตการเรียนเข้าห้องสอบ ไม่ใช่เพราะเพื่อการลอกคำตอบ แต่หากเพื่อการช่วยในการคิดค้นสร้างสรรคำตอบ หรือให้เกิดการระลึกได้ขึ้นมาต่างหาก การได้เห็นสิ่งที่คุ้นเคย เช่นปกหนังสือ หรือสิ่งขีดเขียนในสมุดโน๊ต ช่วยให้มองเห็นภาพถ้อยคำของเนื้อหาในสิ่งนั้นๆได้ในใจ
เหตุผลหนึ่งที่ไม่มีตำราเขียนถึงการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ เป็นเพราะผู้มีทักษะหรือนักสร้างภาพในใจ ไม่ชอบเขียนหนังสือที่เป็นแบบสากลนิยมกัน ตามรูปแบบที่เป็นอยู่ ไม่ชอบเขียนประโยคต่อประโยค ย่อหน้าต่อย่อหน้า หรือบทต่อบท เป็นต้น อีกทั้งการเขียนหนังสือเปรียบเหมือนการใช้พลั่วแซะดินจนเป็นร่องหรืออดทนเหยียบย่ำอยู่ในโคลนได้เป็นเดือนเป็นปี คนที่ต้องการทำเช่นนี้ก็ต่อเมื่อเขาหรือเธอฝันตัวเองลอยอยู่สูงกว่าพื้นดินด้วยปีกที่นึกขึ้นเอาเอง นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลที่ทำไมจึงมีงานเขียนการคิดเชิงประจักษ์ทั้งด้วยการเห็นและการได้ยินมีน้อยมาก อีกทั้งหนังสือหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับจินตภาพ มักเขียนโดยผู้ที่ไม่มีทักษะทางจินตภาพมากจึงไม่เป็นที่น่าสนใจนัก
หนังสือคู่มือสำหรับการฝึกฝนจินตภาพที่ดีเลิศเล่มหนึ่ง จัดทำโดย Kristina Hooper แห่ง England’s Open University เป็นโครงการจัดการเรียนการสอนทางไปรษณีย์ แพร่หลายทั่วประเทศ ใช้สื่อวิทยุ ทีวี และผู้สอนแบบชั่วคราว คอยให้เกรดข้อเขียนและจัดทำโครงการชื่อ ศิลปะและสภาพแวดล้อม (Art and Environment) เป็นการสอนร่วมกันในหลายสาขาวิชา ในส่วนของโครงการนี้ หน่วยที่ ๕ เป็นเรื่อง จินตภาพและการนึกคิดเป็นภาพ (Imaging and Visual thinking) หนังสือคู่มือนี้มีสาระที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ในเรื่องแบบฝึกหัดและการปรับปรุงจินตภาพที่น่าสนใจยิ่ง เกี่ยวข้องกับการกระตุ้น ฝึกหัด การสร้างภาพ (หลับตามองเห็น) ฝึกฝนการปรับปรุงการรับรู้ที่ชัดแจ้งในทุกความรู้สึกสัมผัสได้ ผ่านการเขียนภาพเคร่าวๆ การถ่ายรูปวัตถุในมุมมองที่แตกต่างกัน การสัมผัสวัตถุ ให้อารมณ์และการรับรู้กับสิ่งที่ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้สึก ฝึกฝนขบวนการสร้างหรือประกอบสิ่งของใหม่ เช่น ฝึกเย็บเสื้อผ้า หรือทำชั้นวางหนังสือ ตลอดจนสุดท้ายสัมภาษณ์คนอื่นเกี่ยวกับจินตภาพของเขา แม้ว่าหนังสือคู่มือนี้เน้นความมีขั้นมีตอนที่สำคัญๆด้วยถ้อยคำโวหาร แต่เพิ่มการหลอมรวมสาระเข้าด้วยกันโดยใช้ภาพถ่าย ภาพเขียน และบันทึกเขียนด้วยมือ ซึ่งมากมายเท่าที่สามารถทำเป็นภาพได้ในทุกบทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น